วันสบายๆสไตล์ปูปู้

วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น


ผ้าตีนจก

ประวัติความเป็นมา
ผ้าจกเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของไท-ยวนที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน เป็นผ้าที่ใช้แปรรูปเป็นเครื่องแต่งกายของชาวไท-ยวน เช่น ผ้าซิ่นตีนจก,ผ้าขาวม้าจก,ย่ามจก,กระเป๋าคาดเอวจก ฯลฯ ที่เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไท-ยวน ต่อมาชาวไท-ยวน ได้เคลื่อนย้ายถิ่นฐานจากเมืองเชียงแสนในปี พ.ศ.2347 มาตั้งหลักแหล่งที่ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เมื่อได้ปลูกบ้านเรือนอาศัยสมบูรณ์แล้วก็ได้ทอผ้าด้วยวิธีจกเพื่อนำไปแปรรูปเป็นเครื่องแต่งกายดังกล่าว แสดงเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมของเผ่าพันธุ์ให้เป็นที่ประจักษ์ ปัจจุบันผ้าจกเป็นผลผลิตทางภูมิปัญญาการทอของชาวไท-ยวน อย่างแพร่หลายในจังหวัด
ราชบุรี และเป็นที่นิยมของผู้รักผ้าไทยโดยทั่วไป
กระบวนการขั้นตอนการผลิต
การทอผ้าจกในอดีต : ชาวไท-ยวนจะปลูกฝ้ายเพื่อปั่นเป็นเส้นด้ายใช้ทอผ้าจกและใช้หูกทอผ้าแบบโบราณที่พุ่งกระสวยด้วยมือ การย้อมสีเส้นด้ายก็ใช้วิธีการย้อมด้วยสีธรรมชาติ ทอจกเป็นผืนตา วัตถุประสงค์การใช้นุ่งห่มมิได้มุ่งเน้นเพื่อการจำหน่าย การทอผ้าในปัจจุบัน : ลูกหลานไท-ยวน ส่วนมากในปัจจุบันจะเริ่มทอผ้าจกด้วยการสั่งซื้อวัสดุเส้นใยจากโรงงานทำเส้นใยในกรุงเทพฯ หรือตัวแทนจำหน่าย ฉะนั้นส่วนมากจะเป็นเส้นใยประสมหรือเส้นใยสังเคราะห์ย้อมด้วยสีเคมี เมื่อได้เส้นใยดังกล่าวก็จะนำมาขึ้นม้วนกี่กระตุกซึ่งเป็นกี่ที่ได้รับอิทธิพลมาจากภูมิปัญญาของคนจีน เป็นกี่หน้ากว้างทอได้รวดเร็วกว่าหูกโบราณ การขึ้นม้วน (การเตรียมเส้นยืน) จะจ้างผู้มีอาชีพรับจ้างขึ้นม้วนเป็นส่วนมากแต่จะมีบางคนที่ขึ้นม้วนด้วยตนเองแต่ไม่มากนัก เมื่อได้ม้วนเส้นยืนแล้ว ช่างฝีมือก็จะทอด้วยวิธีจกลวดลายตามแบบที่ได้สืบทอดกันมา ส่วนเส้นพุ่งจะกรอเส้นด้ายเข้าหลอดด้วยตนเอง เพราะเป็นขบวนการที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนแต่ประการใด
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
ผ้าจกมีจุดเด่นที่มีสีสันสลับสอดสีพื้นดำจกด้วยสีแดง แซมด้วยสีเหลืองเขียวเส้นใยละเอียดเนื้อแน่น ลวดลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นคูบัว และแสดงถึงศิลปะของความเป็นไทยท้องถิ่นได้อย่างเด่นชัด เหมาะสมสำหรับนำไปแปรรูปเป็นผ้าซิ่น เสื้อทั้งชาย-หญิง ฯลฯ


เครื่องเคลือบดินเผา "โอ่งสุโขทัย"

ประวัติความเป็นมา
โรงงาน “เถ้าฮงไถ่” เป็นโรงงานผลิตเครื่องปั้นดินเผาเก่าแก่คู่กับประวัติเครื่องปั้นดินเผาของจังหวัดราชบุรี เริ่มปี พ.ศ. 2476 นายซ่งฮง แซ่เตีย และนายจือเหม็ง แซ่อึ้ง ซึ่งเป็นเพื่อนกันและเคยทำเครื่องปั้นดินเผาที่เมืองปังโคย ประเทศจีน ได้มาพบแหล่งดินที่จังหวัดราชบุรี จึงได้นำตัวอย่างดินไปทดลองเผาที่เตาของเจ้สัวฮะลิ้ม สามเสน กรุงเทพฯ เมื่อเห็นว่าดินใช้ได้ จึงชวนพรรคพวกตั้งโรงงาน ชื่อ “เถ้าเจียหลี” ผลิตไหน้ำปลา โอ่งน้ำไม่มีลาย กระถางต้นไม้เป็นโรงงานแรกของราชบุรี โดยผลิตทดแทนการนำเข้าจากประเทศจีน ต่อมาปี พ.ศ. 2486 จึงแยกกิจการกัน นายซ่งฮง แซ่เตียและนายจือเหม็ง แซ่อึ้ง ได้ออกมาตั้งโรงงาน “เถ้าแซไถ่” เริ่มผลิตโอ่งมีลายมังกรเป็นครั้งแรก โดยสั่งดินขาวจากประเทศจีนไว้สำหรับติดลายมังกร ปี พ.ศ. 2497 ได้ขยายสาขา และแยกกิจการกัน โดยนายซ่งฮง แซ่เตีย ได้ตั้งชื่อโรงงานใหม่เป็น “เถ้าฮงไถ่” ปัจจุบันโรงงานเถ้าฮงไถ่ ได้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาตามแบบลูกค้าสั่ง จำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ
กระบวนการขั้นตอนการผลิต
แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน คือ
1. การเตรียมดิน
2. การขึ้นรูปมี 4 วิธี
2.1 ใช้วิธีขดขึ้นรูป
2.2 ใช้วิธีแป้นหมุน
2.3 ใช้วิธีอัดแบบ
2.4 ใช้วิธีหล่อแบบ
3. การตบแต่งและเขียนลวดลาย
4. การเคลือบ
5. การเผา
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
นำเอารูปทรงดั้งเดิมมาประยุกต์ ใช้กับสีสันที่ร่วมสมัยกว่า 600 เฉดสี เป็นการผสมผสานระหว่างอดีตกับปัจจุบัน จนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่สร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ของ “เถ้าฮงไถ่” นอกจากนี้ยังมีการพัฒนารูปแบบใหม่ๆ ออกทุก 1-2 เดือน ซึ่งเป็นการสร้างความหลากหลาย


ไชโป๊วหวานแม่กิมฮวย เชลล์ชวนชิม

ประวัติความเป็นมา
เริ่มจากการผลิตไชโป๊วเค็มก่อน และต่อมาได้ผลิตไชโป๊วหวานควบคู่กัน โดยทำการผลิตมาได้ประมาณ 40 กว่าปีแล้ว ได้รับมาตรฐานเชลล์ชวนชิมในปี 2528 ในนามไชโวหวาน แม่ฮวย เชลล์ชวนชิม ตลอดเวลาที่ผ่านมา กระบวนการผลิตยังคงความพิถีพิถันทุกขั้นตอน และมีการพัฒนาตลอดเวลา ทำให้สินค้ามีคุณภาพได้มาตรฐาน รสชาดอร่อย ถูกอนามัย และมีความหลากหลาย เพื่อความสะดวกในการบริโภค เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ทำให้กิจการคแรกเริ่มเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัว ต่อมาขยายกิจการขึ้นเรื่อย ๆ และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลาย โดยได้รับความนิยมให้เป็น
กระบวนการขั้นตอนการผลิต
คัดไชเท้าสดจากไร่ตามข้อกำหนดโรงงาน โดยผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานทุกขั้นตอน นำหัวไชเท้าสดดังกล่าวมาล้างทำความสะอาด แล้วหมัดเกลือให้ทั่ว นำไชโป๊วเค็ม(หัวไชเท้าเค็มที่หมักได้ที่แล้ว) ที่คัดเลือกแล้ว มาล้างทำความสะอาด แล้วนำไปดองในโอ่ง แช่น้ำตาลทรายขาวล้วน ๆ ใช้ระยะเวลา ประมาณ 15 - 20 วัน ตลอดระยะเวลาดังกล่าวจะพิถีพิถันทุกขั้นตอนตามข้อกำหนดมาตรฐาน GMP เพื่อให้ได้ไชโป๊วหวาน กรอบ รสอร่อย ถูกอนามัย
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
สะอาด อร่อย ถูกอนามัย ได้รับการรับรอง อย. และกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนไดร้บการพัฒนาได้มาตรฐานตามข้อกำหนด GMP มีคุณภาพ ราคาย่อมเยา

วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2550

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลกับเทคโนโลยี (อ.มงคล)

1. พระราชกรณียกิจด้านสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยด้านการสื่อสารตั้งแต่ทรงพระเยาว์ "...ทรงทดลองต่อสายไฟพ่วงขนานกับลำโพงขยาย ของเครื่องรับวิทยุส่วนพระองค์ที่ผลิตจากประเทศสวีเดน ยี่ห้อ 'Centrum' จากห้องที่ประทับพระองค์ท่านไปยังห้องที่ประทับของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทั้งสองพระองค์ทรงพอพระทัยในบริการเสียงตามสายไม่น้อย..." (สุชาติ เผือกสกนธ์, วันสื่อสารแห่งชาติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงอุทิศพระองค์ พระอัจฉริยะและพระอุตสาหะทั้งมวล เพื่อราษฎรในทุกภูมิภาค พระองค์ทรงมีดำริให้มีการพัฒนาด้านระบบวิทยุสื่อสารอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวคือสามารถรับส่งได้ไกลยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงใช้เครื่องมือสื่อสารพกติดพระองค์ เพื่อประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ อยู่เสมอ เพราะสิ่งที่พระองค์ทรงขาดไม่ได้คือการสดับตรับฟังข่าวทุกข์สุขของประชาชน ดังเช่น ในระหว่างการเสด็จเยี่ยมราษฎรได้ทรงพบว่า มีผู้ใดที่กำลังป่วยเจ็บจำเป็นต้องบำบัดรักษา จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะแพทย์ผู้ตามเสด็จดูแลตรวจรักษาทันที ในบางรายที่มีอาการป่วยหนัก จำเป็นต้องส่งตัวเข้าบำบัดรักษาในโรงพยาบาลท้องถิ่นหรือโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครโดยเร็ว หากมีเวลาเพียงพอ พระองค์ท่านจะรับสั่งผ่านทางวิทยุถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ตำรวจตระเวนชายแดน ขอรับการสนับสนุนเรื่องการขนส่ง เช่น เฮลิคอปเตอร์ เพื่อนำผู้ป่วยเจ็บส่งยังที่หมายปลายทางด้วยพระองค์เอง นอกจากนี้ พระองค์ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำระบบสื่อสารแบบถ่ายทอดสัญญาณหรือ Repeater ซึ่งเชื่อมต่อทางวงจรทางไกลขององค์การโทรศัพท์ฯ ให้มูลนิธิแพทย์อาสาฯ (พอ.สว.) นำไปใช้เพื่อช่วยเหลือรักษาพยาบาลแก่ผู้เจ็บป่วยในท้องถิ่นห่างไกล
ในเรื่องการปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงพระราชทาน ในการปฏิบัติระยะแรกๆ ได้ประสบปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ไม่ทราบล่วงหน้า ซึ่งนักบินผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำแก้ไขโดยฉับพลัน เนื่องจากยังไม่มีการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติการด้วยกัน จึงเป็นเหตุให้ไม่ได้ผลเท่าที่ควร กล่าวคือฝนไม่ตกในเป้าหมายบ้าง ตกน้อย หรือไม่ตกตามที่คิดบ้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสดับตรับฟังข่าวการปฏิบัติการฝนเทียมทุกครั้ง และทรงทราบถึงปัญหาสำคัญคือ การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดี จึงโปรดเกล้าฯ ให้ติดตั้งวิทยุให้แก่หน่วยปฏิบัติการฝนเทียม ทั้งทางอากาศและทางภาคพื้นดิน
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้ทำการศึกษาวิจัย รวมถึงการออกแบบและสร้างสายอากาศย่านความถี่สูงมาก หรือที่เรียกว่า VHF (วี.เอช.เอฟ) ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ
ประการแรก เพื่อที่จะได้ใช้งานกับวิทยุส่วนพระองค์ ทั้งนี้โดยมีพระราชประสงค์ที่จะให้ทราบเหตุการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของสาธารณภัยที่เกิดขึ้นกับประชาชน เรื่องไฟไหม้ เรื่องน้ำท่วม ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ทรงช่วยเหลือได้ทันท่วงที
ประการที่สอง เพื่อที่จะพระราชทานให้แก่หน่วยราชการต่างๆ
ประการที่สาม เพื่อส่งเสริมให้คนไทยที่มีความรู้ ความสามารถและตั้งใจจริง ได้ใช้ความอุตสาหวิริยะในการพัฒนาระบบวิทยุสื่อสารขึ้นใช้เองภายในประเทศ
นอกเหนือจากวิทยุสื่อสารแล้ว ในเรื่องของเทเล็กซ์พระองค์ทรงสนพระทัยอยู่ไม่น้อย และสิ่งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่เคยทรงขาดคือ การพระราชทานพรปีใหม่ นอกจากจะทรงมีกระแสพระราชดำรัส พระราชทานพรปีใหม่แก่พสกนิกรไทยทางวิทยุและโทรทัศน์ทุกแห่งแล้ว พระองค์ท่านยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพรทางเทเล็กซ์สม่ำเสมอทุกปี แต่ในปัจจุบันท่านทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการประดิษฐ์บัตรอวยพรปีใหม่แทน
นอกจากนี้พระองค์ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสื่อสารว่า การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจทุกประเภท, การสื่อสารเป็นหัวใจของความมั่นคงของประเทศ และการสื่อสารเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศให้ประชาชนอยู่ดีกินดี


2. พระราชกรณียกิจด้านวิทยุกระจายเสียง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยในเรื่องวิทยุเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเยาว์ ซึ่งพระองค์ประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์ได้ทรงซื้ออุปกรณ์เครื่องรับวิทยุ ซึ่งมีวางขายเลหลังราคาถูกทรงประกอบเป็นเครื่องรับวิทยุชนิดแร่ สามารถรับฟังวิทยุกระจายเสียงในยุโรปได้หลายแห่ง ต่อมาเมื่อกิจการวิทยุเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ได้นำหลอดวิทยุมาใช้ในเครื่องรับ-ส่งวิทยุ และเครื่องขยายเสียง และพระองค์ท่านก็ได้ทรงทดลองอุปกรณ์แบบใหม่นี้ด้วยเช่นกัน
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินกลับมา ประทับอยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวร ในปี พ.ศ. 2495 พระองค์ได้ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. ขึ้นที่พระราชวังสวนดุสิต และชื่อสถานีวิทยุดังกล่าวได้ทรงนำมาจากอักษรย่อของพระที่นั่งอัมพรสถาน ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ออกอากาศครั้งแรก ต่อมาจึงย้ายสถานีวิทยุ อ.ส. เข้าไปตั้งในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
สถานีวิทยุ อ.ส. เมื่อแรกตั้งเป็นสถานีเล็กๆ มีเครื่องส่ง 2 เครื่อง ขนาดที่มีกำลังส่ง 100 วัตต์ ออกอากาศด้วยคลื่นสั้นและคลื่นยาวในระบบ AM พร้อมๆ กัน เครื่องส่งรุ่นแรกนี้เป็นเครื่องที่ กรมประชาสัมพันธ์ทูลเกล้าฯ ถวายและติดตั้งให้ด้วยเมื่อออกอากาศไปได้ระยะหนึ่ง และในระบบคลื่นสั้นก็มีจดหมายรายงานผลการรับฟัง เข้ามาจากหลายประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมันฯ เป็นต้น ดังนั้นจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขยายกำลังส่ง โดยมีชื่อรหัสสถานีว่า HS 1 AS ในปี พ.ศ. 2525 สถานีวิทยุ อ.ส. ได้เพิ่มการส่งกระจายเสียงในระบบ FM ขึ้นอีกระบบหนึ่ง ในการขยายด้านกำลังส่งนั้นอุปกรณ์ต่างๆ ล้วนแต่มีผู้โดยเสด็จพระราชกุศล เพื่อให้สถานีวิทยุ อ.ส. สามารถบริการประชาชนได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น อาจถือได้ว่าเป็นสถานีวิทยุเอกชนเพียงแห่งเดียวที่สามารถกระจายเสียงคลื่นสั้นได้ ทั้งนี้เพราะถือว่าเป็นเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์
พระองค์ทรงมีวัตถุประสงค์ที่ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. เพื่อเปิดโอกาสให้พสกนิกรมีช่องทางในการติดต่อกับพระองค์ได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนตามพิธีการเหมือนในสมัยก่อน ทรงใช้สถานีวิทยุเพื่อเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ติดต่อข่าวสารกับประชาชน และเป็นสื่อสัมพันธ์ระหว่างพระองค์และประชาราษฎร์ ที่ทรงแสดงให้ทราบถึงใจรักที่พระองค์ท่านพระราชทานให้กับประชาชนทั่วทุกคน

นอกเหนือจากเป็นสถานีวิทยุของสื่อมวลชนเพื่อการบันเทิง และเผยแพร่ความรู้กับประชาชนแล้ว ยังได้ทำหน้าที่แจ้งข่าวสารแก่ประชาชนในโอกาสสำคัญ หรือเกิดเหตุการณ์ที่สำคัญต่างๆ ขึ้น เช่น การเกิดโรคโปลีโอระบาดในปี พ.ศ. 2495 อหิวาตกโรคในปี พ.ศ. 2501 และเมื่อเกิดวาตภัยที่แหลมตะลุมพุกในปี พ.ศ. 2505 โดยมีพระราชดำริให้ใช้สถานีวิทยุ อ.ส. เพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรม จนเป็นบ่อเกิดของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ซึ่งปัจจุบันมีคุณขวัญแก้ว วัชโรทัย ทำหน้าที่นายสถานี เล่าให้ฟังว่า นโยบายหลักเกี่ยวกับการบริหารงานของสถานี ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้ก็คือ การเปิดโอกาสให้คนที่มีความรู้ ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการหรือเอกชน ได้เข้ามาสนองพระมหากรุณาธิคุณให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ของสถานีจึงเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น และทรงรับภาระต่างๆ ด้านสถานีด้วยทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ พระองค์ทรงใช้นโยบายประหยัดและใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าที่สุด และในปัจจุบันนี้สถานีวิทยุ อ.ส. ยังคงกระจายเสียงเป็นประจำทุกวันเว้นวันจันทร์ โดยออกอากาศทั้งคลื่นสั้นและคลื่นยาว ในระบบ AM 1332 KHzและ FM 104 MHz ควบคู่กันไปด้วยกำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ โดยออกอากาศวันอังคารถึงวันเสาร์ เวลา 10.30-12.00 และ 16.00-19.00 วันอาทิตย์ เวลา 9.00-12.00 หยุดทุกวันจันทร์


3. พระราชกรณียกิจด้านดาวเทียม
ดาวเทียมไทยคมนับว่า เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้การสื่อสารโทรคมนาคมของไทยก้าวสู่ยุคแห่งความล้ำหน้า และได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการสนองพระราชดำริ ในเรื่องของการศึกษา คุณขวัญแก้ว วัชโรทัย เป็นผู้สนองพระราชภารกิจที่โรงเรียนไกลกังวล หัวหิน ซึ่งขณะนี้ได้พยายามที่จะนำเอาดาวเทียมไทยคม เข้าไปใช้ในกิจการด้านการเรียนการสอน เจตนารมณ์ดังกล่าว เป็นการสนองตอบความต้องการของประชาชน และเป็นการปรับปรุงในเรื่องของการศึกษาให้สอดคล้องกับยุคสมัยอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นการจัดการศึกษาใต้ร่มพระบารมีอย่างแท้จริง และที่สำคัญเพื่อเป็นการสนองพระบรมราโชบายทางการศึกษา ในอันที่จะทำให้โรงเรียนไกลกังวลเป็นเครือข่ายและเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาไทยคมอย่างแท้จริง

กล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นอเนกอนันต์ต่อประเทศชาติ ที่ได้มีพระราชดำริ ให้มีการพัฒนางานทางระบบวิทยุสื่อสารขึ้นในประเทศอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง เพราะสังคมปัจจุบันนั้น การสื่อสารก็เปรียบเสมือนกับระบบประสาทของร่างกายมนุษย์ ดังนั้นจึงนับได้ว่า พระองค์ท่านนั้นมีสายพระเนตรที่ยาวไกล ทรงเห็นบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อการสื่อสาร

ที่มา http://www.prdnorth.in.th/The_King/king_it_01.php#link3

แบบฝึกหัดหน่วยการเรียนที่ 4 การสื่อความหมาย(อ.มงคล)

1.คำว่า Communis แปลว่า คล้ายคลึง หรือ ร่วมกัน
2.การสื่อความหมาย หมายถึง กระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จากบุคคลฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้ส่ง” ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้รับ”
3.

4.สาร หมายถึง เนื้อหา สาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่ง หรือแหล่งกำเนิด
5.Elments หมายถึง องค์ประกอบย่อยๆ พื้นฐานที่จำเป็นต้องมี
ตัวอย่าง เช่น สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ หรือสีแดง สีเหลือง เป็นต้น
6.Structure หมายถึง โครงสร้างที่เกิดจากการนำเอาองค์ประกอบย่อยๆ มารวมกัน
ตัวอย่าง เช่น คำ ประโยค หรือสีสันของรูปร่าง รูปทรง ฯลฯ
7.Content หมายถึง ข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิดความต้องการของผู้ส่ง
ตัวอย่าง เช่น จะทำอย่างไรให้ผู้รับสารเข้าใจเกี่ยวกับสารให้มากที่สุด
8.Treatment หมายถึง วิธีการเลือก การจัดรหัส และเนื้อหาให้อยู่ในรูปแบบที่จะสามารถถ่ายทอดความต้องการของผู้ส่งไปยังผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่าง เช่น แชมพูที่มี Treatment เพื่อไว้บำรุงผม แต่ในที่นี้หมายถึงรูปแบบของการสื่อความหมาย (Style)
9.Code หมายถึง กลุ่มสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึกนึกคิด ความต้องการ
ตัวอย่าง เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ดนตรี ภาพวาด กิริยาท่าทาง ฯลฯ
10.อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงดังรบกวน อากาศร้อน กลิ่นไม่พึงประสงค์ แสงแดด ฝนสาด ฯลฯ
11.อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายใน เช่น ความเครียด อารมณ์ขุ่นมัว อาการเจ็บป่วย ความวิตกกังวล ฯลฯ
12.Encode หมายถึง ผู้ส่งสารขาดความสามารถในการเข้ารหัส หรือแปลความต้องการของตนเป็นสัญลักษณ์หรือสัญญาณต่างๆ ได้
13.Decode หมายถึง ผู้รับสารขาดความสามารถในการถอดรหัสสาร อันเนื่องมาจากสาเหตุดังนี้
1. อุปสรรคด้านภาษา (Verbalism)
2. ความขัดแย้งกับประสบการณ์เดิม (Referent Confusion)
3. ขีดจำกัดของประสาทสัมผัส (Limited Perception)
4. สภาพร่างกายไม่พร้อม (Physical Discomfort)
5. การไม่ยอมรับ
6. จินตภาพ (Image) ไม่ตรงกันกับผู้ส่งสาร
14.จงอธิบายการสื่อความหมายในการเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง
กระบวนการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้

15.จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน
กระบวนการเรียนการสอนมักจะประสบความล้มเหลวบ่อยๆ เนื่องจากอุปสรรคหลายประการดังนี้
1. ครูผู้สอนไม่บอกวัตถุประสงค์ในการเรียนให้ผู้เรียนทราบก่อนลงมือสอน ทำให้ผู้เรียนขาดเป้าหมายในการเรียน
2. ครูผู้สอนไม่คำนึงถึงข้อจำกัดและขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน จึงมักใช้วิธีสอนแบบเดียวกันทุกคน
3. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะจัดบรรยากาศ ขจัดอุปสรรคและสร้างความพร้อมแก่ผู้เรียนก่อนลงมือสอน
4. ครูผู้สอนบางคนใช้คำยาก ทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจความหมายของคำ และเนื้อหาโดยรวม
5. ครูผู้สอนมักนำเสนอเนื้อหากวน สับสน รวดเร็ว ไม่สัมพันธ์ต่อเนื่อง กระโดดไปมาทำให้เข้าใจยาก
6. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะใช้สื่อการสอนหรือเลือกใช้สื่อการสอนไม่เหมาะสมกับเนื้อหา และระดับของผู้เรียน
ดังนั้นในกระบวนการเรียนการสอนจึงควรคำนึงถึงอุปสรรคต่างๆ และพยายามขจัดให้หมดไป เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

นวัตกรรมที่ผมสนใจ (อ.ชวน)


วิทยาลัยเทคนิคระยอง “แจ่ม” สร้างเครื่องล้างหอยแครง ชนะใจกรรมการคว้าดับเบิ้ลแชมป์การประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่ทั่วประเทศ แจงล้างหอยแครงได้ 5 ก.ก.ต่อนาที ลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุจากคมเปลือกหอยในบรรดาสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ที่นำมาจัดแสดงในการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ เทิดไท้ มหาราชันย์ ประจำปีการศึกษา 2548 ระหว่างวันที่ 1-4 ธ.ค. ณ ห้างเดอะมอลล์ บางกะปิ “เครื่องล้างหอยแครง” (Cockle Cleaning Machine) ของวิทยาลัยเทคนิคระยองมีความโดดเด่นอย่างหาตัวจับยาก โดยก่อนหน้านี้ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานครสิ่งประดิษฐ์ประเภทกำหนดโจทย์ "เพื่อแก้ปัญหาความยากจนมาแล้ว"อย่างไรก็ดี ความเยี่ยมยอดของเครื่องล้างหอยแครงยังไม่หยุดเพียงเท่านั้น หากแต่ยังสามารถชนะเลิศรางวัลการแข่งขันประเภทเดียวกันจากการชิงชัยทั่วประเทศ พร้อมกับรับรางวัลเกียรตินิยมสำหรับสิ่งประดิษฐ์ซึ่งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณาแล้วเห็นว่า สามารถนำไปใช้ได้ดีและมีประโยชน์ยิ่งพ่วงมาอีกรางวัลหนึ่ง โดยได้มีโอกาสเข้ารับประทานรางวัลจากพระหัตถ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เป็นที่เรียบร้อยแล้วภายในงานการประกวดฯ วานนี้ (3 ธ.ค.)ทั้งนี้ ทีมประดิษฐ์ประกอบด้วยนักเรียนระดับ ปวช. สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง 5 คน ผนึกกำลังกับรุ่นพี่ ปวส.อีก 5 คน รวม 10 คน อันได้แก่ นายธานี ไตรลักษณ์ นายฤทธิไกร ระติพงษ์ นายวรรทิต จันทร์ทอง นายมนัส ทิพนาค นายลำดวน บุญประคม นายนันทิชา คำรอด นายมานิต งามเสงี่ยม นายสาโรจน์ ขันแข็ง นายเผด็จ แถมจรัส นายโอฬาร เจริญสุข และมีอาจารย์ที่ปรึกษาประกอบด้วยนายกฤษณ ทองคำ นายรักษ์ไทน์ พันกาฬสินธุ์ และนายศราวุฒิ จุ้ยช่วยเนื่องจากการล้างหอยแครงตามปกติมักเกิดปัญหาการได้รับอันตรายจากคมของเปลือกหอยแครงขณะที่ล้างทำความสะอาดเอาดินและโคลนที่ปะปนมาออกไป เครื่องล้างหอยแครงจึงเข้ามาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยคุณสมบัติที่สามารถช่วยลดอันตรายจากการล้างเปลือกหอยด้วยมือ และเพื่อความสะดวกในการล้างหอยแครงโดยจะสามารถล้างได้คราวละมากๆ จึงทำให้ประหยัดเวลาล้างหอยแครงได้มาก แถมยังสามารถล้างหอยแครงได้สะอาดอย่างเห็นได้ชัดนายมานิต เผยว่า เครื่องล้างหอยแครงดังกล่าวสามารถได้ 5 ก.ก./ นาที นอกจากนั้นยังแยกท่อสำหรับใช้ได้ทั้งน้ำประปาหรือน้ำบาดาลเพื่อล้างหอยแครง รวมถึงยังได้ออกแบบฝาปิดเพื่อเก็บเสียงรบกวนจากการล้างหอยแครงอีกด้วย โดยสิ่งประดิษฐ์ที่ว่านี้มีต้นทุนการผลิตประมาณ 9,900 บาทและมีขนาดกว้าง 62 ซม. ยาว 76 ซม. และสูง 85 ซม.โดยมีน้ำหนัก 90 ก.ก.ส่วนเทคโนโลยีที่นำมาใช้ เขาเผยว่าได้แก่ หลักการการหมุนหนีศูนย์กลางและใช้แรงโน้มถ่วงในการพาหอยแครงไปล้างกับน้ำ โดยใช้กำลังจากมอเตอร์หมุนตะแกรงล้าง ซึ่งทำให้เกิดความสะอาดในการล้างได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลา และลดอันตรายจากเปลือกหอยดังที่กล่าวมาข้างต้น ทั้งนี้ทั้งนั้น มีผู้เสนอให้พวกเขาพัฒนาต่อไปให้เครื่องล้างหอยแครงสามารถลวกหอยให้พร้อมรับประทานได้ในเครื่องเดียว ซึ่งพวกเขาได้น้อมรับคำแนะนำดังกล่าวไว้ และจะทำเป็นงานวิจัยต่อไป ส่วนจะพัฒนาตามนั้นหรือไม่ต้องทำการศึกษาก่อนอย่างไรก็ตาม อาจารย์รักษ์ไทน์ กล่าวเสริมว่า เครื่องดังกล่าวยังเป็นเครื่องต้นแบบอยู่ โดยเกิดมาจากการทำโครงงานในการเรียนการสอนของสถาบัน ส่วนที่มีผู้ถามว่าจะต่อยอดในเชิงพาณิชย์หรือไม่ คิดว่าคงยัง อย่างไรก็ดี เครื่องล้างหอยแครงที่สร้างขึ้นก็ได้รับการตอบรับค่อนข้างดี สังเกตจากมีผู้ให้ความสนใจจำนวนมาก“เครื่องล้างหอยแครง” จึงเป็นสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ใน พ.ศ. นี้ที่สามารถนำมาใช้งานได้อย่างแท้จริง ซึ่งหากใครได้มีโอกาสได้มาชมงานการประกวดสิ่งประดิษฐ์ในครั้งนี้ด้วยตัวเองแล้ว ก็จะยิ่งทำให้รู้ว่าสิ่งประดิษฐ์ “แจ่มๆ” โดยคนรุ่นใหม่ไทยยังมีอีกมากจนหน้ากระดาษในหนังสือพิมพ์เล่มใดๆ บันทึกกันไม่หวาดไม่ไหวเลยทีเดียวงานประกวดสิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่ เทิดไท้ มหาราชันย์ฯ จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา บริษัทล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) บริษัทโปรเกรส อินฟอร์เมชั่น จำกัด บริษัทล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด และบริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีนักประดิษฐ์รุ่นใหม่และสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษามีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาความสามารถและสร้างสรรค์ผลงานตามรอยองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” ในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติต่อไป- - - - - -- - - - - - - - - -- - - - - -- - - - - -- ข่าวและภาพบางส่วน จาก : ผู้จัดการออนไลน์ 4 ธันวาคม 2548



เหตุผลที่สนในนวัตกรรมนี้ เพราะว่าการล้างหอยเครงด้วยมืออาจทำให้คมของหอยบาดมือ สะดวกรวดเร็ว ทั้งยังสามารนำเครื่องล้างหอยแครงมาใช้ในทางอุตสาหกรรมได้ในอนาคต