วันสบายๆสไตล์ปูปู้

วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น


ผ้าตีนจก

ประวัติความเป็นมา
ผ้าจกเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของไท-ยวนที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน เป็นผ้าที่ใช้แปรรูปเป็นเครื่องแต่งกายของชาวไท-ยวน เช่น ผ้าซิ่นตีนจก,ผ้าขาวม้าจก,ย่ามจก,กระเป๋าคาดเอวจก ฯลฯ ที่เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไท-ยวน ต่อมาชาวไท-ยวน ได้เคลื่อนย้ายถิ่นฐานจากเมืองเชียงแสนในปี พ.ศ.2347 มาตั้งหลักแหล่งที่ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เมื่อได้ปลูกบ้านเรือนอาศัยสมบูรณ์แล้วก็ได้ทอผ้าด้วยวิธีจกเพื่อนำไปแปรรูปเป็นเครื่องแต่งกายดังกล่าว แสดงเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมของเผ่าพันธุ์ให้เป็นที่ประจักษ์ ปัจจุบันผ้าจกเป็นผลผลิตทางภูมิปัญญาการทอของชาวไท-ยวน อย่างแพร่หลายในจังหวัด
ราชบุรี และเป็นที่นิยมของผู้รักผ้าไทยโดยทั่วไป
กระบวนการขั้นตอนการผลิต
การทอผ้าจกในอดีต : ชาวไท-ยวนจะปลูกฝ้ายเพื่อปั่นเป็นเส้นด้ายใช้ทอผ้าจกและใช้หูกทอผ้าแบบโบราณที่พุ่งกระสวยด้วยมือ การย้อมสีเส้นด้ายก็ใช้วิธีการย้อมด้วยสีธรรมชาติ ทอจกเป็นผืนตา วัตถุประสงค์การใช้นุ่งห่มมิได้มุ่งเน้นเพื่อการจำหน่าย การทอผ้าในปัจจุบัน : ลูกหลานไท-ยวน ส่วนมากในปัจจุบันจะเริ่มทอผ้าจกด้วยการสั่งซื้อวัสดุเส้นใยจากโรงงานทำเส้นใยในกรุงเทพฯ หรือตัวแทนจำหน่าย ฉะนั้นส่วนมากจะเป็นเส้นใยประสมหรือเส้นใยสังเคราะห์ย้อมด้วยสีเคมี เมื่อได้เส้นใยดังกล่าวก็จะนำมาขึ้นม้วนกี่กระตุกซึ่งเป็นกี่ที่ได้รับอิทธิพลมาจากภูมิปัญญาของคนจีน เป็นกี่หน้ากว้างทอได้รวดเร็วกว่าหูกโบราณ การขึ้นม้วน (การเตรียมเส้นยืน) จะจ้างผู้มีอาชีพรับจ้างขึ้นม้วนเป็นส่วนมากแต่จะมีบางคนที่ขึ้นม้วนด้วยตนเองแต่ไม่มากนัก เมื่อได้ม้วนเส้นยืนแล้ว ช่างฝีมือก็จะทอด้วยวิธีจกลวดลายตามแบบที่ได้สืบทอดกันมา ส่วนเส้นพุ่งจะกรอเส้นด้ายเข้าหลอดด้วยตนเอง เพราะเป็นขบวนการที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนแต่ประการใด
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
ผ้าจกมีจุดเด่นที่มีสีสันสลับสอดสีพื้นดำจกด้วยสีแดง แซมด้วยสีเหลืองเขียวเส้นใยละเอียดเนื้อแน่น ลวดลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นคูบัว และแสดงถึงศิลปะของความเป็นไทยท้องถิ่นได้อย่างเด่นชัด เหมาะสมสำหรับนำไปแปรรูปเป็นผ้าซิ่น เสื้อทั้งชาย-หญิง ฯลฯ


เครื่องเคลือบดินเผา "โอ่งสุโขทัย"

ประวัติความเป็นมา
โรงงาน “เถ้าฮงไถ่” เป็นโรงงานผลิตเครื่องปั้นดินเผาเก่าแก่คู่กับประวัติเครื่องปั้นดินเผาของจังหวัดราชบุรี เริ่มปี พ.ศ. 2476 นายซ่งฮง แซ่เตีย และนายจือเหม็ง แซ่อึ้ง ซึ่งเป็นเพื่อนกันและเคยทำเครื่องปั้นดินเผาที่เมืองปังโคย ประเทศจีน ได้มาพบแหล่งดินที่จังหวัดราชบุรี จึงได้นำตัวอย่างดินไปทดลองเผาที่เตาของเจ้สัวฮะลิ้ม สามเสน กรุงเทพฯ เมื่อเห็นว่าดินใช้ได้ จึงชวนพรรคพวกตั้งโรงงาน ชื่อ “เถ้าเจียหลี” ผลิตไหน้ำปลา โอ่งน้ำไม่มีลาย กระถางต้นไม้เป็นโรงงานแรกของราชบุรี โดยผลิตทดแทนการนำเข้าจากประเทศจีน ต่อมาปี พ.ศ. 2486 จึงแยกกิจการกัน นายซ่งฮง แซ่เตียและนายจือเหม็ง แซ่อึ้ง ได้ออกมาตั้งโรงงาน “เถ้าแซไถ่” เริ่มผลิตโอ่งมีลายมังกรเป็นครั้งแรก โดยสั่งดินขาวจากประเทศจีนไว้สำหรับติดลายมังกร ปี พ.ศ. 2497 ได้ขยายสาขา และแยกกิจการกัน โดยนายซ่งฮง แซ่เตีย ได้ตั้งชื่อโรงงานใหม่เป็น “เถ้าฮงไถ่” ปัจจุบันโรงงานเถ้าฮงไถ่ ได้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาตามแบบลูกค้าสั่ง จำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ
กระบวนการขั้นตอนการผลิต
แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน คือ
1. การเตรียมดิน
2. การขึ้นรูปมี 4 วิธี
2.1 ใช้วิธีขดขึ้นรูป
2.2 ใช้วิธีแป้นหมุน
2.3 ใช้วิธีอัดแบบ
2.4 ใช้วิธีหล่อแบบ
3. การตบแต่งและเขียนลวดลาย
4. การเคลือบ
5. การเผา
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
นำเอารูปทรงดั้งเดิมมาประยุกต์ ใช้กับสีสันที่ร่วมสมัยกว่า 600 เฉดสี เป็นการผสมผสานระหว่างอดีตกับปัจจุบัน จนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่สร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ของ “เถ้าฮงไถ่” นอกจากนี้ยังมีการพัฒนารูปแบบใหม่ๆ ออกทุก 1-2 เดือน ซึ่งเป็นการสร้างความหลากหลาย


ไชโป๊วหวานแม่กิมฮวย เชลล์ชวนชิม

ประวัติความเป็นมา
เริ่มจากการผลิตไชโป๊วเค็มก่อน และต่อมาได้ผลิตไชโป๊วหวานควบคู่กัน โดยทำการผลิตมาได้ประมาณ 40 กว่าปีแล้ว ได้รับมาตรฐานเชลล์ชวนชิมในปี 2528 ในนามไชโวหวาน แม่ฮวย เชลล์ชวนชิม ตลอดเวลาที่ผ่านมา กระบวนการผลิตยังคงความพิถีพิถันทุกขั้นตอน และมีการพัฒนาตลอดเวลา ทำให้สินค้ามีคุณภาพได้มาตรฐาน รสชาดอร่อย ถูกอนามัย และมีความหลากหลาย เพื่อความสะดวกในการบริโภค เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ทำให้กิจการคแรกเริ่มเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัว ต่อมาขยายกิจการขึ้นเรื่อย ๆ และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลาย โดยได้รับความนิยมให้เป็น
กระบวนการขั้นตอนการผลิต
คัดไชเท้าสดจากไร่ตามข้อกำหนดโรงงาน โดยผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานทุกขั้นตอน นำหัวไชเท้าสดดังกล่าวมาล้างทำความสะอาด แล้วหมัดเกลือให้ทั่ว นำไชโป๊วเค็ม(หัวไชเท้าเค็มที่หมักได้ที่แล้ว) ที่คัดเลือกแล้ว มาล้างทำความสะอาด แล้วนำไปดองในโอ่ง แช่น้ำตาลทรายขาวล้วน ๆ ใช้ระยะเวลา ประมาณ 15 - 20 วัน ตลอดระยะเวลาดังกล่าวจะพิถีพิถันทุกขั้นตอนตามข้อกำหนดมาตรฐาน GMP เพื่อให้ได้ไชโป๊วหวาน กรอบ รสอร่อย ถูกอนามัย
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
สะอาด อร่อย ถูกอนามัย ได้รับการรับรอง อย. และกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนไดร้บการพัฒนาได้มาตรฐานตามข้อกำหนด GMP มีคุณภาพ ราคาย่อมเยา

ไม่มีความคิดเห็น:

นวัตกรรมที่ผมสนใจ (อ.ชวน)


วิทยาลัยเทคนิคระยอง “แจ่ม” สร้างเครื่องล้างหอยแครง ชนะใจกรรมการคว้าดับเบิ้ลแชมป์การประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่ทั่วประเทศ แจงล้างหอยแครงได้ 5 ก.ก.ต่อนาที ลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุจากคมเปลือกหอยในบรรดาสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ที่นำมาจัดแสดงในการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ เทิดไท้ มหาราชันย์ ประจำปีการศึกษา 2548 ระหว่างวันที่ 1-4 ธ.ค. ณ ห้างเดอะมอลล์ บางกะปิ “เครื่องล้างหอยแครง” (Cockle Cleaning Machine) ของวิทยาลัยเทคนิคระยองมีความโดดเด่นอย่างหาตัวจับยาก โดยก่อนหน้านี้ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานครสิ่งประดิษฐ์ประเภทกำหนดโจทย์ "เพื่อแก้ปัญหาความยากจนมาแล้ว"อย่างไรก็ดี ความเยี่ยมยอดของเครื่องล้างหอยแครงยังไม่หยุดเพียงเท่านั้น หากแต่ยังสามารถชนะเลิศรางวัลการแข่งขันประเภทเดียวกันจากการชิงชัยทั่วประเทศ พร้อมกับรับรางวัลเกียรตินิยมสำหรับสิ่งประดิษฐ์ซึ่งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณาแล้วเห็นว่า สามารถนำไปใช้ได้ดีและมีประโยชน์ยิ่งพ่วงมาอีกรางวัลหนึ่ง โดยได้มีโอกาสเข้ารับประทานรางวัลจากพระหัตถ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เป็นที่เรียบร้อยแล้วภายในงานการประกวดฯ วานนี้ (3 ธ.ค.)ทั้งนี้ ทีมประดิษฐ์ประกอบด้วยนักเรียนระดับ ปวช. สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง 5 คน ผนึกกำลังกับรุ่นพี่ ปวส.อีก 5 คน รวม 10 คน อันได้แก่ นายธานี ไตรลักษณ์ นายฤทธิไกร ระติพงษ์ นายวรรทิต จันทร์ทอง นายมนัส ทิพนาค นายลำดวน บุญประคม นายนันทิชา คำรอด นายมานิต งามเสงี่ยม นายสาโรจน์ ขันแข็ง นายเผด็จ แถมจรัส นายโอฬาร เจริญสุข และมีอาจารย์ที่ปรึกษาประกอบด้วยนายกฤษณ ทองคำ นายรักษ์ไทน์ พันกาฬสินธุ์ และนายศราวุฒิ จุ้ยช่วยเนื่องจากการล้างหอยแครงตามปกติมักเกิดปัญหาการได้รับอันตรายจากคมของเปลือกหอยแครงขณะที่ล้างทำความสะอาดเอาดินและโคลนที่ปะปนมาออกไป เครื่องล้างหอยแครงจึงเข้ามาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยคุณสมบัติที่สามารถช่วยลดอันตรายจากการล้างเปลือกหอยด้วยมือ และเพื่อความสะดวกในการล้างหอยแครงโดยจะสามารถล้างได้คราวละมากๆ จึงทำให้ประหยัดเวลาล้างหอยแครงได้มาก แถมยังสามารถล้างหอยแครงได้สะอาดอย่างเห็นได้ชัดนายมานิต เผยว่า เครื่องล้างหอยแครงดังกล่าวสามารถได้ 5 ก.ก./ นาที นอกจากนั้นยังแยกท่อสำหรับใช้ได้ทั้งน้ำประปาหรือน้ำบาดาลเพื่อล้างหอยแครง รวมถึงยังได้ออกแบบฝาปิดเพื่อเก็บเสียงรบกวนจากการล้างหอยแครงอีกด้วย โดยสิ่งประดิษฐ์ที่ว่านี้มีต้นทุนการผลิตประมาณ 9,900 บาทและมีขนาดกว้าง 62 ซม. ยาว 76 ซม. และสูง 85 ซม.โดยมีน้ำหนัก 90 ก.ก.ส่วนเทคโนโลยีที่นำมาใช้ เขาเผยว่าได้แก่ หลักการการหมุนหนีศูนย์กลางและใช้แรงโน้มถ่วงในการพาหอยแครงไปล้างกับน้ำ โดยใช้กำลังจากมอเตอร์หมุนตะแกรงล้าง ซึ่งทำให้เกิดความสะอาดในการล้างได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลา และลดอันตรายจากเปลือกหอยดังที่กล่าวมาข้างต้น ทั้งนี้ทั้งนั้น มีผู้เสนอให้พวกเขาพัฒนาต่อไปให้เครื่องล้างหอยแครงสามารถลวกหอยให้พร้อมรับประทานได้ในเครื่องเดียว ซึ่งพวกเขาได้น้อมรับคำแนะนำดังกล่าวไว้ และจะทำเป็นงานวิจัยต่อไป ส่วนจะพัฒนาตามนั้นหรือไม่ต้องทำการศึกษาก่อนอย่างไรก็ตาม อาจารย์รักษ์ไทน์ กล่าวเสริมว่า เครื่องดังกล่าวยังเป็นเครื่องต้นแบบอยู่ โดยเกิดมาจากการทำโครงงานในการเรียนการสอนของสถาบัน ส่วนที่มีผู้ถามว่าจะต่อยอดในเชิงพาณิชย์หรือไม่ คิดว่าคงยัง อย่างไรก็ดี เครื่องล้างหอยแครงที่สร้างขึ้นก็ได้รับการตอบรับค่อนข้างดี สังเกตจากมีผู้ให้ความสนใจจำนวนมาก“เครื่องล้างหอยแครง” จึงเป็นสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ใน พ.ศ. นี้ที่สามารถนำมาใช้งานได้อย่างแท้จริง ซึ่งหากใครได้มีโอกาสได้มาชมงานการประกวดสิ่งประดิษฐ์ในครั้งนี้ด้วยตัวเองแล้ว ก็จะยิ่งทำให้รู้ว่าสิ่งประดิษฐ์ “แจ่มๆ” โดยคนรุ่นใหม่ไทยยังมีอีกมากจนหน้ากระดาษในหนังสือพิมพ์เล่มใดๆ บันทึกกันไม่หวาดไม่ไหวเลยทีเดียวงานประกวดสิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่ เทิดไท้ มหาราชันย์ฯ จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา บริษัทล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) บริษัทโปรเกรส อินฟอร์เมชั่น จำกัด บริษัทล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด และบริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีนักประดิษฐ์รุ่นใหม่และสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษามีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาความสามารถและสร้างสรรค์ผลงานตามรอยองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” ในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติต่อไป- - - - - -- - - - - - - - - -- - - - - -- - - - - -- ข่าวและภาพบางส่วน จาก : ผู้จัดการออนไลน์ 4 ธันวาคม 2548



เหตุผลที่สนในนวัตกรรมนี้ เพราะว่าการล้างหอยเครงด้วยมืออาจทำให้คมของหอยบาดมือ สะดวกรวดเร็ว ทั้งยังสามารนำเครื่องล้างหอยแครงมาใช้ในทางอุตสาหกรรมได้ในอนาคต